วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ อำนาจหน้าที่
วิสัยทัศน์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตาก
ปศุสัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ก้าวไกลโคพันธุ์ตาก
(Origin Of Takbeef To Asin)
พันธกิจ
๑. สร้างเครือข่าย ,ถ่ายทอดองค์ความรู้ ,เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านปศุสัตว์
๒. ควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคสัตว์
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าปศุสัตว์
๔. กำกับ ดูแลและอำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตาก
1. วางแผนงาน แผนกลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์ และแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัด
2. บูรณาการแผนงาน โครงการขนาดใหญ่ กิจกรรม ด้านการปศุสัตว์ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการในพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจ ภารกิจ เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด
3. ติดตาม เร่งรัด การดำเนินโครงการ กิจกรรม หรือการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย และมีความยุ่งยากซ้ำซ้อนมาก ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกรมปศุสัตว์ และจังหวัดที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน และวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของบุคลากรในสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
5. มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่หลากหลายของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เพื่อให้งานบรรลุ ตามภารกิจ แผนกลยุทธ์ เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกรมปศุสัตว์และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
6. ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แก่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
7. วินิจฉัย สั่งการ เรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง หรือมีความซับซ้อนของประเด็นปัญหา ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาต การดำเนินการต่าง ๆ รวมถึงการแก้ปัญหาความเดือกร้อนของประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ ตามภารกิจที่หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
8. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน กลุ่มเกษตรกร และอาสาปศุสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความร่วมมือหรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนผู้รับบริการ
9. ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงาน ต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง ๆ ในระดับหน่วยงาน หรือองค์กร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในฐานะผู้มีบทบาทหลัก เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
10. ศึกษา ค้นคว้า ความรู้และเทคนิคใหม่ ๆ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและข้อบกพร่องในการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนา วางระบบงานอำนวยการ งานบริหารของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์และปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
11. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดและกรมปศุสัตว์ในภาพรวมประสบความสำเร็จตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้
ในกรณีที่มีการจัดตั้งสำนักงานปศุสัตว์อำเภอขึ้นในจังหวัดใด ให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอมีหน้าที่ในเขตรับผิดชอบดังต่อไปนี้
๑. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถาน
พยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒. ดำเนินการเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ การผสมเทียม สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์
๓. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์
๕. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย