ความรู้เรื่องไข่ไก่
ข้อมูลทั่วไป
ไข่ที่นิยมบริโภคกันในเมืองไทย คือ ไข่ไก่ รองลงมาคือไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีไข่นกกระทาที่มีการบริโภคกัน ซึ่งมีขนาดเล็กมาก แต่ก็ไม่แพร่หลายเท่ากับไข่ไก่และไข่เป็ด
ประโยชน์ทางโภชนาการ
ไข่เป็ดอาหารที่มีโภชนาการสูง เนื่องจากไข่ไก่1 ฟอง ( 50 กรัม) ให้พลังงานประมาณ 75 แคลอรี่ และมีโปรตีนคุณภาพสูง และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ไข่แดงมีไขมันประเภทอิ่มตัว รวมถึงโอเมกา -3 ที่ลดอัตราเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดไปด้วย
ไข่ไก่มีแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูก รวมทั้งเป็นแหล่งวิตามินที่สำคัญ เช่น วิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 และวิตามิน
นอกจากนี้ไข่ยังทำให้เรารู้สึกอิ่มนาน เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนพีพีวายซึ่งจะสื่อสารไปที่สมองว่าไม่หิว
คุณค่าของไข่ต้มสุกและไข่ลวกเท่ากัน ดังนั้นควรทานไข่สุขจะดีกว่า เราไม่ควรกินไข่ดิบเพราะในไข่ดิบอาจมีเชื้อโรค ซึ่งจะถูกทำลายไปเมื่อปรุงสุกแล้วและไข่ดิบยังย่อยยาก หากเรากินไข่ขาวดิบเข้าไปร่างกายก็ไม่สามารถดูดสารอาหารต่างๆได้ หากจะกินไข่ลวกควรให้ไข่ขาวสุกเสียก่อน
สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ผู้สูงวัยสามารถรับประทานไข่ไก่ได้วันละ 1-2 ฟอง
อย่างไรก็ตามหากท่านยังมีความกังวลในการควบคุมไขมันและคอเรสเตอรอล ควรเลือกทานแต่ไข่ขาวเพราะโปรตีนทั้งหมดอยู่ในไข่ขาว ส่วนไขมันอยู่ในไข่แดง
นอกจากนี้สมาคมค้นคว้าและวิจัยเพื่อการพัฒนาร่างกายและจิตใจของชาวจีนแนะนำว่า หากอายุไม่เกิน 40 ปี สามารถรับประทานไข่ไก่ได้วันละ 2 ฟอง
ส่วนผู้มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป สามารถรับประทานได้ วันละ 1 ฟอง ในคนที่ไม่มีคอเรสเตอรอลสูง ส่วนคนที่มีคอเรสเตอรอลสูง ควรรับประทานเฉพาะไข่ขาว และหมั่นออกกำลังการเป็นประจำ จะช่วยให้คอเรสเตอรอลตัวไม่ดี กลายเป็นคอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์
วิธีการเลือกซื้อไข่
1.ควรเลือกซื้อไข่ที่มีเปลือกไข่ที่สะอาดไม่มีมูลติดมากับเปลือกไข่
2.เปลือกมีผิวเรียบ แข็ง ไม่มีรอยแตก หรือรอยบุบ
3.เปลือกไข่สดจะมีผิวคล้ายแป้งจับดูแล้วเนียน แป้งจับดูแล้วเนียน หากเปลือกไข่ลื่นมันแสดงว่าเป็นไข่เก่า
4.เมื่อนำไข่ส่องดูกับแสง เป็นไข่แดงกับไข่ขาวแยกออกกันชัดเจน แสดงว่าเป็นไข่ใหม่ ส่วนไข่ที่เสียจะทึบแสง ไข่แดงกระจายตัว มีจุดเงาดำ
5.ไข่ไก่ มีสีเปลือกน้ำตาลอ่อน หรือเข้มปานกลาง (ในต่างประเทศจะไม่นิยมทานไข่เป็ด แต่ไข่ไก่ในต่างประเทศจะมีเปลือกเป็นสีขาวเนืองจากเป็นคนละสายพันธุ์กับที่เลี้ยงในเมืองไทย) มีขนาดเล็กกว่าไข่เป็ดเมื่อกะเทาะเปลือก ไข่เป็ด มีเปลือกสีขาว มีขนาดใหญ่กว่า
6.เมื่อกะเทาะเปลือกแล้ว ไข่ไก่จะมีสีแดงจะมีสีเหลือง หรือสีเหลืองอมส้มอ่อน ในขณะที่ไข่เป็ด ไข่แดงจะมีสีค่อนข้างแดงเรื่อๆ มีสีเข้มกว่าไข่ไก่ และเมื่อต้มสุกเนื้อไข่เป็ดจะแข็งกว่าไข่ไก่ เหมาะสำหรับนำไปทำไข่พะโล้
การเก็บรักษา
1.การเก็บไข่ควรเก็บไว้ทั้งลูก ไม่ควรกะเทาะเปลือกเพราะจะทำให้เสียคุณภาพของไข่ และเก็บไว้ได้ไม่นาน
2.เมื่อซื้อไข่มาไม่ควรล้างไข่ เพราะจะทำให้ฝุ่นแป้งหลุดออกไปเป็นการเปิดรูพรุน ทำให้เชื้อโรคผ่านเข้าไปได้ง่าย
3.ไม่ควรเก็บไข่ไว้ในอาหารที่มีกลิ่นฉุนอย่างกะปิ น้ำปลา
4.การเก็บไข่ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิปกติ และควรใส่ในภาชนะแล้ววางไว้บนชั้นธรรมดา ดีกว่าใส่ในช่องวางไข่ที่ฝาผนังตู้เย็นซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงทำให้ไข่เสียเร็วกว่าที่ควร ถ้าไม่มีตู้เย็นให้วางไว้ในตะกร้าโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
5.การวางไข่ควรเอาด้านแหลมลงและให้ด้านป้านอยู่ข้างบน ไข่แดงจะอยู่ตรงกลาง หากวางไข่ด้านป้านลง ไข่แดงก็จะลอยขึ้น ทำให้ไข่แดงแตกง่ายเวลาตอกไข่ เวลาเก็บไข่ควรเอาด้านแหลมลงทุกครั้ง
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ไข่เป็นอาหารที่บริโภคกันทั่วไป จนใช้ราคาไข่เป็นตัวชี้วัดค่าครองชีพของรัฐบาลแต่ละสมัย หากราคาไข่แพงแสดงว่าค่าครองชีพแพง
ในเมืองไทยนิยมบริโภคไข่ในรูปแบบต่างๆทั้งต้ม นึ่ง ปิ้ง ทอด เจียว ผัด พะโล้ โดยสามารถปรุงรสเฉพาะไข่ หรือนำไปผสมกับอาหารชนิดต่างๆ เช่นมะระผัดไข่ ข้าวผัดใส่ไข่ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยใส่ไข่ ไข่เจียวใส่ผักต่างๆ เป็นต้น
อ้างอิงจาก คูมื่อ ฉลาดซื้อ ฉลาดกิน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์