การตรวจติดตามแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดง
มาตรการในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์
1.การควบคุมและตรวจสอบการเข้าสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ ณ ด่านท่าเข้า
-อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2525 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
ห้ามมิให้มีการนำเข้าอาหารสัตว์ทุกประเภทที่มีสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์เป็นส่วนผสม
-อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบันที่ 107) พ.ศ.2538 เพื่อควบคุมสาร Clenbuterol
-อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำเข้า Albuterol หรือ Salbutamol เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2545
2.การควบคุมและตรวจสอบการนำสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ผสมในอาหารสัตว์
-อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525
ห้ามใช้สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์เป็นวัตถุที่เติมในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์
3.การควบคุมและตรวจสอบการลักลอบการใช้สารกลุ่มอะโกนิสท์ ณ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
-การขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร
-การเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ ยา และเภสัชเคมีภัณฑ์ที่ใช้การเลี้ยงสัตว์ภายในฟาร์มนำไปตรวจวิเคราะห์
-การเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรขุนนำไปตรวจวิเคราะห์
-การออกใบรับรองฟาร์มสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดง
4.การควบคุมและตรวจสอบการตกค้างของสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ในสัตว์ ณ โรงฆ่าสัตว์
-ออกใบอนุญาตโรงฆ่าสัตว์
-เก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรที่โรงฆ่าสัตว์เพื่อตรวจวิเคราะห์
5.การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวข้อง ให้สามารถควบคุมวงจรการใช้สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ตลอดจนประชาชนทั่วไป
มีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน และความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปลอดการใช้กลุ่มเบต้าอะโกนิสท์
อ้างอิงจาก รายงานประจำปี 2553 สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์